ผู้นำทั่วโลกเรียกร้องสหประชาชาติให้มีมาตรการต่อสู้กับ อาชญากรรมต่อสัตว์ป่า

Posted on September, 30 2013

ความพยายามในการต่อสู้กับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า ได้รับแรงสนับสนุนครั้งใหญ่

นิวยอร์ค 27 กันยายน 2556- - ความพยายามในการต่อสู้กับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า ได้รับแรงสนับสนุนครั้งใหญ่ในวันนี้ เมื่อผู้นำประเทศ และรัฐมนตรีอีกจำนวนหนึ่ง ได้กล่าวสรุปให้เห็นถึงผลกระทบรุนแรงจากการลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

ระหว่างช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดทางการเมืองระหว่างประเทศ​ รัฐบาลประเทศต่างๆ เลือกที่จะหยิบยกประเด็นการลักลอบค้า สัตว์ป่า ขึ้นเป็นประเด็นภัยคุกคามสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคง, การบังคับใช้กฏหมาย และการพัฒนาของโลก

ประธานาธิบดีอาลี บองโก แห่งกาบอง เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งทูตพิเศษสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า เช่นเดียวกับมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ UNGA ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหว ที่ได้รับการสนับสนุนจาก นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการคอมมอนเวลธ์ สหราชอาณาจักร รวมทั้งนายกุยโด เวสเทอร์เวลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี เช่นเดียวกับผู้แทนชาติอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ของนอร์เวย์ 

ประธานาธิบดีอาลี บองโก กล่าวว่า การลักลอบก่ออาชญากรรมต่อสัตว์ป่า ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป แต่เป็นการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ และเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงในทวีปของเรา

จากายา คิกเวเต้ ประธานาธิบดีแห่งแทนซาเนีย เน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาความต้องการสัตว์ป่า พร้อมทั้งเรียกร้องขอความช่วย เหลือจากประชาคมนานาชาติเพื่อปิดตลาดสัตว์ป่า

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี กุยโด เวสเทอร์เวลเลอ ชี้ให้เห็นว่า สำหรับเยอรมนีแล้ว ปัญหานี้ไม่ใช่การหา มาตรการเพื่อปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อีกต่อไป แต่เป็นการตอบโต้องต์กรอาชญากรรมที่แผ่ขยาย และป้องกันการติดอาวุธ อย่างไร้การควบคุม ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาต่างประเทศ และประเด็นด้านความมั่นคง

นี่เป็นการเดินหน้าเพื่อต่อสู้กับการก่ออาชญากรรมต่อสัตว์ป่า และในวันนี้ ประเทศต่างๆได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาเอาจริงเอา จังในการต่อสู้กับองค์กรอาชญากรรมเหล่านี้จิม ลีป ผู้อำนวนการ WWF-สากล กล่าว

 “ตอน นี้การลักลอบค้าสัตว์ป่า ทำอย่างเป็นระบบ มีกำไรงาม และแพร่หลาย ทั้งยังอันตรายกว่าที่ผ่านๆมา ซึ่งก่อให้เกิดภัย คุกคามต่อบูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคง และยังแสดงให้เห็นถึงการรุกราน รวมทั้งปล้นชิงทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วยเขากล่าวเสริม

การประชุมระดับสูง การลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่า- อาชญากรรมหลายมิติ และความท้าทายต่อประชาคมนานาชาติที่เพิ่ม สูงขึ้นซึ่งรัฐบาลเยอรมนีและกาบองร่วมเป็นเจ้าภาพ และมีรัฐมนตรีรวมทั้งผู้แทนระดับสูงจากชาด ประเทศไทย สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และโคลัมเบีย เข้าร่วม

นายญาน อีเลียสสัน รองเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ เป็นผู้เปิดการประชุม ขณะที่ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานอาชญากรรม และยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ และเลขาธิการใหญ่ประชาคมเศรษฐกิจรัฐในแอฟริกากลาง ต่างขึ้นกล่าวถ้อยแถลงด้วย เช่นกัน

ส่วนอีกฝากหนึ่งของเมือง องค์กรความริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์โลกคลินตัน (CGI) จัดงานเลี้ยงรับรอง ขณะที่องค์กรด้านอนุรักษ์หลายองค์กร ซึ่งรวมถึง WWF และรัฐบาลประเทศต่างๆ มอบเงิน 80 ล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าสองพันล้านบาท แก่ CGI เพื่อใช้ในโครงการช่วยช้างแอฟริกา

ตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา ผู้ที่มีความมุ่งมั่นและพันธมิตรจะให้การสนับสนุนทางการเงิน และอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุน การทำงาน รวมทั้งจัดหาทรัพยากรต่างๆ สำหรับการปกป้องประชากรช้างป่าแอฟริกากลุ่มสำคัญ ให้รอดพ้นจากการไล่ล่า รวมทั้งลดการลักลอบค้า และหยุดยั้งความต้องการงาช้าง

คาร์เตอร์ โรเบิร์ตส์ ประธานและผู้บริหาร WWF-สหรัฐฯ กล่าวว่า เราต่างทราบวิธีการแก้ไขวิกฤตนี้ แต่สิ่งที่ขาดหายไป ก็คือการ ร่วมมือร่วมใจของรัฐบาลประเทศต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน สร้างเสริมทรัพยาการเพิ่มมากขึ้น เพื่อยับยั้ง การสังหารและทำลายความต้องการสัตว์ป่า โดยดูตัวอย่างในการจัดการกับปัญหาเหมืองเพชรในพื้นที่ขัดแย้ง และขนเฟอร์ จากสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ยิ่งมีประชาชนรับทราบถึงผลที่เกิดจากสิ่งที่พวกเขาซื้อหามากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขาทำ เราจำเป็นที่จะ ต้องทำให้เกิดพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันกับงาช้าง นอแรด และกระดูกเสือเขากล่าวเสริม
Director General of WWF International, Jim Leape speaking at a High-Level Panel alongside German Foreign Minister Guido Westerwelle, President Ali Bongo of Gabon, Secretary-General of CITES John Scanlon and Deputy Secretary General of the UN Jan Eliasson © WWF
© WWF